โปรดลงทะเบียน Facebook เพื่อเข้าร่วมกับเรา ภารกิจ:แลกเปลี่ยนความรู้เว็บไซท์นี้ ขอเสนอเป็นศูนย์แลก เปลี่ยนความรู้ และนำเสนอข่าวในส่วนของ Axapta Microsoft Dynamics AX ในรูปแบบภาษาไทย บน Social network เข้าสู่หน้าหลัก:http://Thai-Axapta.com

RFID สำคัญฉะไหน


หลังจาก microsoft ได้ประกาศตัว Dynamics Ax โดยให้การสนับสนุนการทำงานก
ับระบบ RFID


แล้วมันคืออะไรหละ นั้นน่ะสิคือสิ่งที่เราต้องเรารู้ ดูจากแนวโน้ม ปี 2007 จะมีการนำ RFID ในเมืองไทยมากกว่า 30 เปอร์เซ็น เราคงต้องรู้จักกับเจ้า RFID กันหน่อย ..


RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้ระบุ ลักษณะเฉพาะของคน สัตว์ และสิ่งของ ด้วยการติดแผ่นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (Tags) ที่มีการลงโปรแกรมควบคุมที่ระบุ อย่างเฉพาะเจาะจง โดยติดไปกับสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ และระบุถึงข้อมูลของสิ่งนั้นๆ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็นการนำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัวที่เรียกว่า แผ่นป้าย (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator)



รูปที่ 1 แผนผังการทำงานของระบบ RFID

องค์ประกอบของระบบ RFID
RFID Tag หรือ Label คือแผงวงจรวิทยุขนาดเล็กบรรจุข้อมูลความจำ (Memory chip) บนแผ่นกระดาษขนาด 2 ตารางนิ้ว ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 2,000 บิตต่อชิปหนึ่งตัว RFID TAG มี 2 ชนิดคือ
Active Tag : ประกอบด้วยเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุ และแบตเตอรี่ที่ให้พลังงานในตัวเอง ทำให้สามารถรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลกับ RFID Reader ได้ในระยะไกล สามารถทำงานในบริเวณที่มีสัญญาณ รบกวนได้ดี และสามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงใน Tag ชนิดนี้ได้ แต่มีข้อเสียคือ มีอายุการใช้งานจำกัดตามอายุของ แบตเตอรี่ และมีราคาแพงกว่าแบบ Passive Tag
Passive Tag : ไม่มีแบตเตอรี่ในตัวเอง น้ำหนักเบา อายุการใช้งานไม่จำกัด และราคาถูกกว่าแบบ Active Tag ลักษณะการทำงานคือ เมื่อได้รับสัญญาณที่ RFID Reader ส่งมา (อยู่ภายในรัศมีสัญญาณ ประมาณ 3 เมตร) จะทำการแปลงสัญญานนั้นเป็นพลัง งาน(Beam Powered) เพื่อใช้ในการส่งข้อมูลของตัวเองกลับไปยัง Reader โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Backscatter แต่ข้อเสียคือระยะการรับส่งข้อมูลใกล้ ตัวอ่านข้อมูลต้องมีความไว้สูง และจะถูกรบกวนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ง่าย
RFID Reader หรือ Interrogator คือตัวอ่านข้อมูล มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจาก Tag แล้วทำการตรวจสอบความผิดพลาดของ ข้อมูล ถอดรหัสข้อมูล และนำข้อมูลผ่านเข้าสู่กระบวนการต่อไป ซึ่ง Reader ที่ดีต้องมีความสามารถในการป้องกัน การอ่านข้อมูลซ้ำ เช่นในกรณีที่ Tag ถูกวางทิ้งอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ Reader สร้างขึ้น หรืออยู่ในระยะการรับส่ง ก็อาจทำให้ Reader ทำการรับหรืออ่านข้อมูลจาก Tag ซ้ำอยู่เรื่อย ๆไม่สิ้นสุด ดังนั้น Reader ที่ดีต้องมีระบบป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้ ที่เรียกว่าระบบ "Hands Down Polling" โดย Reader จะสั่งให้ Tag หยุดการส่งข้อมูลในกรณีเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว หรืออาจมีบางกรณีที่มี Tag หลาย Tag อยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพร้อมกัน หรือที่เรียกว่า "Batch Reading" Reader ควรมีความสามารถที่จะจัดลำดับการอ่าน Tag ทีละตัวได้
3. Antenna เป็นสายอากาศที่เชื่อมต่อกับ Reader เป็นตัวรับและส่งคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นคลื่นพาหะ ที่ผ่านการทำมอดูเลต กับข้อมูลแล้ว ซึ่งการรับส่งคลื่นมี 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีเหนี่ยวนำคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า (Inductive Coupling หรือ Proximity Electromagnetic) กับ วิธีการแผ่คลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Propagation Coupling) ดังรูป



รูปที่ 2 แสดงการสื่อสารระหว่าง Tag และ Reader
หลักการทำงานเบื้องต้น
1. Reader จะทำการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามีแท็กเข้ามา อยู่ ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่
2. เมื่อมี Tag เข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Tag จะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจาก การเหนี่ยว นำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ Tag เริ่มทำงานและจะส่งข้อมูลในหน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลต กับคลื่นพาหะ แล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายใน Tag
3. คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจาก Tag จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ หรือเฟส ขึ้นอยู่กับ วิธีการมอดูเลต
4. Reader จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะ แปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้วทำการถอดรหัส เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป



รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้งาน Tag และ Reader


การประยุกต์ใช้งาน RFID จะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายกับบาร์โค้ด (Bar code) แต่ต่างกันตรงที่ Tag ของระบบ RFID สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถบันทึก หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ใน Tagsได้ และสามารถนำ Tags ไปติดกับกระดาษ พลาสติก ฝั่งในแก้ว หรือการ์ดก็ได้ขึ้นความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน



รูปที่ 4 รูปแบบต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ RFID
วิวัฒนาการของ RFID จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Radio Frequency Identification (RFID) : เทคโนโลยีไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุ ในการระบุลักษณะเฉพาะของคน สัตว์ และสิ่งของ เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 20


20th Century
เทคโนโลยี RFID ถือกำเนิดมาจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า โดยนักวิทยาศาสตร์ได้มีการคิดค้นทฤทษฎีต่าง ๆ ในการนำเอาพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า มาใช้กับการรับส่งคลื่นวิทยุ และพัฒนามาจนกลายเป็นเทคโนโลยี RFID ในที่สุด โดยประมาณปี 1922 ได้มีการพัฒนาเรดาร์ขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ในการตรวจจับ ระบุตำแหน่ง และความเร็วของวัตถุให้กับกองทัพ และในช่วงสุดท้ายของการพัฒนาเรดาร์นี้เองเทคโนโลยี RFID จึงถือกำเนิดขึ้น จากการรวมกันของเทคโนโลยีการกระจายคลื่นวิทยุ และ เรดาร์


1940s
ในปี 1948 มีการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับ RFID ออกสู่สาธารณชน เรื่อง “ Communication by Means of Reflected Power.” โดย Harry Stockman


1950s : Early Exploration of RFID Technology
ยุคเริ่มต้นของการสำรวจเทคโนโล ยี RFID มีผลงานการพัฒนาที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ได้แก่ "Application of the microwave homodyne" ของ F. L. Vernon's และ "Radio transmission systems with modulatable passive responder . ” ของ D.B. Harris ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนา RFID ให้ก้าวต่อไปข้างหน้า


1960s : RFID Become Reality
ยุคของการพัฒนาเทคโนโลยี RFID มีผลงานการพัฒนาได้แก่ "Field measurements using active scatterers" and "Theory of loaded scatterers" ของ R. F. Harrington , "Remotely activated radio frequency powered devices" ของ Robert Richardson , "Communication by radar beams" ของ Otto Rittenback , "Passive data transmission techniques utilizing radar beams" ของ J. H. Vogelman และ "Interrogator-responder identification system" ของ J. P. Vinding
และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของ RFID ได้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในปี 1960 จากการพัฒนาและจำหน่ายเครื่องตรวจจับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันขโมย ที่เรียกว่า Electronic Article Surveillance (EAS) ของบริษัท Sensormatic Checkpoint และบริษัทอื่น ๆ เช่น Knogo


1970s : Explosion of RFID Development.
การพัฒนาเทคโนโลยี RFID ได้รับความสนใจอย่างมาก ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Raytheon ทำการพัฒนา Raytag ,RCA and Fairchild พัฒนา "Electronic identification system" และ "Passive encoding microwave transponder" รวมถึงการพัฒนาจากสถาบันการศึกษา ซึ่งสถาบันที่มีบทบาทสำคัญ คือ Los Alamos Scientific Laboratory ได้นำเสนอผลงานพัฒนาที่ก้าวหน้าและสำคัญ เรื่อง “Short-range radio-telemetry for electronic identification using modulated backscatter" โดย Alfred Koelle, Steven Depp และ Robert Freyman
และในยุคนี้ได้เริ่มมีการนำเอา เทคโนโลยี RFID มาใช้ในงานด้านอื่น ๆ อาทิเช่น ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานในโรงงาน การติดตามสัตว์ หรือยานพาหนะ เป็นต้น


1980s : Commercial Applications of RFID
นับเป็นทศวรรษแห่งการใช้งานเทคโนโลยี RFID อย่างเต็มรูปแบบ ถึงแม้ว่าการพัฒนาจะแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของโลก แต่ความสนใจของสหรัฐอเมริกามุ่ง ไปที่การนำ RFID มาใช้ในระบบขนส่ง การเข้าถึงบุคคล และขยายไปถึงการติดตามสัตว์ สำหรับในยุโรปสนใจในระบบ Short-range สำหรับสัตว์ อุตสาหกรรม และด้านธุรกิจ ในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และนอร์เวย์มีการเตรียมถนนหรือ สะพานให้พร้อมสำหรับการใช้เทคโนโลยี RFID ในอนาคต จนในปี 1987 ประเทศนอร์เวย์ได้เริ่มใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาใน ปี 1989 ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ New York และ New Jersey เริ่มใช้กับรถบัสที่ผ่านอุโมงค์ Lincoln จะเห็นว่าในช่วง 10 ปีนี้เทคโนโลยี RFID ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญกับ ระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น และยังมีผู้พัฒนารายใหม่มากเพิ่ม ขึ้นทุกวัน


1990s : RFID becomes a part of everyday life.
เป็นทศวรรษสำคัญของ RFID มีการกำหนดมาตรฐาน RFID และมีการจดสิทธิบัตรมากกว่า 350 ฉบับ อีกทั้ง มีการนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง เช่นระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ที่สหรัฐอเมริกา ในปี 1991 มีการเปิดใช้งานบนทางหลวงใน Oklahoma และปี 1992 นำระบบเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นี้มาใช้ร่วมกับระบบบริหารการจราจรในพื้นที่ Houston มลรัฐ Harris รวมถึงประเทศแถบยุโรป แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย


The 21st Century
ปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี RFID ให้ประยุกต์ใช้งานในเชิงพาณิชย์ มากขึ้น อาทิเช่น การบริหารจัดการสินค้าในธุรกิจค้าปลีก การจัดการข้อมูลและประวัติผู้ป่วยในธุรกิจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่าง ๆ (Health Care) การจัดการข้อมูลสัตว์เลี้ยงของ ธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ (Animal Identification) การจัดการข้อมูลงานทะเบียนของภาครัฐ และการรักษาความปลอดภัย การเข้าออกของอาคาร สำนักงาน (Security Access) เป็นต้น


เทคโนโลยี RFID กับการพาณิชย์


ธุรกิจค้าปลีก


ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจค้าปลีก ด้านการบริหารจัดการสินค้า เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลสินค้า ได้ ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวน สั่งสินค้าจาก Suppliers จนส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้า และเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูล แบบ real-time ร่วมกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยความท้าทายคือการหาวิธีในการบริหารจัดการข้อมูล ทั้งในเรื่องการกลั่นกรองข้อมูล ใช้ หรือแชร์ข้อมูลนั้นร่วมกันระหว่างบริษัท ค้าปลีก และซัพพายเออร์ โดยบริษัทที่เป็นผู้ริเริ่ม และมีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้คือ Wal-Mart ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีกของประเทศ สหรัฐอเมริกา และของโลก และ Tesco Lotus ของประเทศอังกฤษ



Wal-Mart บริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดใน สหรัฐอเมริการ ก่อตั้งเมื่อปี 1962 ปัจจุบันที่ร้านค้ากว่า 500 ร้าน และมีคลับผุ้ค้าส่งในกว่า 10 ประเทศ บริษัทมียอดขายกว่า 9.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การศึกษาเทคโนโลยี RFID ทาง Wal-Mart ได้ทำการศึกษาถึงศักยภาพของเทคโนโลยี RFID มาเป็นเวลากว่า 12 ปี ที่ Rogers, Ark., โดยทำการทดสอบ tags และ readers จากผู้ขายจำนวนหลายราย และศึกษาถึงประสิทธิภาพการใช้ง านของอุปกรณ์เหล่านี้ภายใต้ สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันของศูนย์ กระจายสินค้าและห้อง เก็บของ และยังได้ร่วมมือกับ Auto-ID Center (องค์กรวิจัยแบบไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ที่ Massachusetts Institute of Technology) มาเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง เพื่อพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี RFID


การประกาศใช้เทคโนโลยี RFID เมื่อศึกษาจนแน่ใจในตัวเทคโนโลยี RFID แล้ว Wal-mart จึงประกาศให้ซัพพายเออร์ 100 รายแรกติด RFID tags บนลังใส่สินค้า และ pallets (ถาดที่ทำจากไม้หรือเหล็กสำหรับ วางลังสินค้าจำนวนมาก) ที่ส่งเข้าศูนย์กระจายสินค้า และร้านค้า ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2005 แห่ง ซึ่งถ้าซัพพายเออร์รายใดไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูก และตั้งเป้าภายในสิ้นปี 2005 กำหนดใช้ RFID กับร้านค้า 3,000 แห่ง และศูนย์กระจายสินค้า 100 แห่ง แต่เนื่องจาก RFID เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มากสำหรับ วงการค้าปลีก จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายเช่น จะนำเทคโนโลยี RFID นี้มาใช้อย่างไร ข้อมูลใดบ้างที่ต้องแชร์กันระหว่าง Wal-Mart กับฃัพพายเออร์จำนวนมาก และบริษัทจะติดตามสินค้าด้วยบาร์โค้ดไปพร้อมกับ RFID tags ขณะทำการขนส่งได้ แต่ถึงแม้จะมีคำถามและข้อสงสัยต่าง ๆ ทาง Wal-Mart ยังคงยืนยันการใช้เทคโนโลยี RFID นี้เพราะบริษัทจะได้รับประโยชน์ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำ งานดีขึ้น ต้นทุนที่ลดลง และยอดขายที่เพิ่มขึ้น


ประโยชน์ที่ Wal-Mart ได้รับจากการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้
สามารถลดจำนวนพนักงานที่มีหน้า ที่สแกน bar code บน pallets และลังสินค้า รวมถึงสินค้าในร้านค้า ทำให้ลดต้นทุนแรงงานได้ 15 เปอร์เซ็นต์คิดเป็นเงิน 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
จากการใช้ระบบ smart shelf ในการจัดการกับสินค้าบนชั้นวางสินค้าในร้านค้า ทำให้ประหยัดไปได้ถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดการสูญหายของสินค้า ทั้งจากการขโมยของพนักงาน หรือการโกงจากผู้ขาย และการบริหารที่ผิดพลาด ทำให้ประหยัดไปได้ 575 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้วยระบบการติดตามที่ดีที่ใช้ก ับ pallets และลังสินค้าที่ผ่านเข้าออกศูนย์กระจายสินค้าในแต่ละปีทำให้บริษัทสามารถประหยัดได้ถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้า คงคลังได้ถึง 180 ล้านเหรียญสหรัฐ



Tesco ประกอบธุรกิจในรูปแบบ Supermarket , Hypermarket และ Convenience Store ในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ ยุโรปกลาง และเอเชีย รวมแล้วกว่า 2000 แห่ง ซึ่งอยู่ในอังกฤษถึง 1982 แห่งด้วยกัน โดยเมื่อปี 2003 บริษัทมียอดขายกว่า 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่ สุดในเกาะอังกฤษ


การศึกษาเทคโนโลยี Tesco เป็นบริษัทแรกที่พัฒนาเทคโนโลยี Smart Shelf ที่ได้รับการออกแบบโดย Gilletes และเป็นรายแรกที่ทดลองใช้ ระบบ low-cost antenna ที่พัฒนาโดย MeadWestvaco’s Intelligent System (MWVIS) พื่อที่จะติดตาม CDs ในร้านค้าได้ สำหรับการทดลอง RFID Tesco ทำงานร่วมกับ Alien Technology , IBM Business Consulting Services, Intel , IPI และ Auto-ID Center ขั้นตอนการทดลองคือ เมื่อศูนย์กระจายสินค้ารับคำสั่งซื้อจากร้านค้าแล้ว พนักงานมีหน้าที่ไปจัดสินค้าทั้ง หมด ( ซึ่งได้รับการติด RFID tag จากซัพพายเออร์แล้ว) รวบรวมไปวางไว้บน pallet ที่ติด RFID tag ไว้ เพื่อนำส่งไปยังร้านค้า โดยผ่านจุดเข้า-ออกของศูนย์กระจาย สินค้าซึ่งติด RFID reader ไว้ ซึ่งในขั้นตอนการผ่านเข้า-ออกจะมีการอ่านและบันทึกข้อมูลสินค้า และเวลาเข้าออก เก็บไว้ ทำให้ทางบริษัทสามารถติดตามตรวจ สอบสินค้าทุกชิ้นที่ผ่านเข้า ออกศูนย์กระจายสินค้านี้ได้


การประกาศใช้เทคโนโลยี RFID ในเดือนเมษายน 2004 ทาง Tesco ได้เริ่มแนวคิดที่จะนำ RFID มาใช้ในธุรกิจ โดยทำการติด RFID tag บนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าประเภท nonfood ที่ศูนย์กลางกระจายสินค้า เพื่อให้สามารถติดตามสินค้าไปจนถึงร้านค้าได้ และประมาณเดือนกันยายนซัพพายเออร์ บางรายจะเริ่มติด tag บนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่จะส่งไปยังศูนย์กลางกระจายสินค้าของ Tesco แต่ทางบริษัทไม่ได้กำหนดวันที่ แน่นอนที่ซัพพายเออร์ทุกราย ต้องติด tag บนสินค้าของตนเอง เพียงแต่ประมาณการไว้ในเดือนกันยายน 2005 จะดำเนินการให้ครอบคลุมสินค้าหลัก ๆ และขยายให้ครอบคลุมสินค้าทั้งหมด ในเดือนกันยายน 2006 และคาดว่าจะใช้เทคโนโลยี RFID ได้ตลอดกระบวนการของห่วงโซ่อุป ทานในปี 2007


การดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน เมื่อมีการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้
ด้านซัพพายเออร์ นอกจากจะต้องติด tags ที่ pallets และลังใส่สินค้าที่ส่งให้บริษัท ค้าปลีก อย่าง Wal-Mart และ Tesco Lotus แล้ว ยังต้องทำการติดตั้งเครื่องอ่าน RFID readers ในโรงงาน โกดังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าของตนเองด้วย และจากความต้องการที่แตกต่างกัน ไปของผู้ค้าปลีกแต่ละราย ทางซัพพายเออร์อาจต้องใช้ tag ชนิดพิเศษ ต้องติด tag ให้ตรงตามตำแหน่งที่กำหนด และต้องจัดเรียงลังใส่สินค้าบน pallet ตามรูปแบบที่กำหนดโดยเฉพาะ ไม่สามารถจะวางกองสุ่ม ๆ กันแบบเมื่อก่อนได้อีกแล้ว และเนื่องจาก RFID tags ที่ใช้จะเก็บ serial number ซึ่งมีความหมายต่าง ๆ กันไป ดังนั้นทางซัพพายเออร์ต้องมีการ ดำเนินการด้าน IT คือต้องทำการสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้า ว่าสินค้านั้นคืออะไร ผลิตจากที่ไหน และมีวันหมดอายุเมื่อไร โดยทางผู้ค้าปลีกต้องกำหนดให้แน่นอนว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้าง มีรูปแบบอย่างไร และจะสามารถแชร์ข้อมูลกันได้อย่าง ไร ซึ่งทั้งหมดนี้ทางผู้ค้าปลีกและ ซัพพายแออร์ต้องทำงานประสาน กันเป็นอย่างดี


ด้านบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ต้องทำ การสร้าง fields ใหม่เพื่อรองรับข้อมูล หรือเพิ่ม module การทำงาน หรือ upgrade ผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับ serial number ใน RFID tags แต่สุดท้ายแล้วทางผู้ค้าปลีกและ ซัพพายเออร์ต้องจัดเตรียม middleware ไว้คอยรับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มาจากเครื่องอ่าน โดยต้องมีวิธีการจัดการที่ดี ในการรับเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เข้าสู่ระบบ และมีวิธีกำจัดข้อมูลที่เข้ามาซ้ำ หรือผิดพลาดออกไปจากระบบ โดยทาง IT และผู้จัดการร้านต้องหาวิธีที่ เหมาะสมในการที่จะจัดการกับ ปริมาณสินค้าคงคลังไม่ให้มี มากหรือน้อยจนเกินไป


ปัญหา และอุปสรรคของเทคโนโลยี RFID
ถึงแม้ทุกฝ่ายจะเตรียมการดังก ล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี แต่การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก จากอุปสรรคเกี่ยวกับข้อจำกัดของ คลื่นที่ใช้ส่งระหว่าง tags และ readers คือคลื่นที่ถูกส่งออกไปจะสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับโลหะ และคลื่นความถี่จะถูกดูดซับโดย น้ำ รวมถึงความผิดพลาดจากการอ่านค่า ปัญหาเหล่านี้ทำให้บรรดาผู้ค้า ปลีกต้องหาข้อสรุปสำหรับข้อ จำกัดเหล่านี้ เพราะมีสินค้ากว่า 100 ชนิดที่มีน้ำบรรจุอยู่ในปริมาณที่สูง หรือทำมาจากโลหะ


แนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยี RFID
บางคนมองว่าเทคโนโลยี RFID นี้ ไม่เหมาะกับระบบห่วงโช่อุปทานแบบเปิดที่มีการซึ้อขายสินค้าหลากหลาย
แบรนด์ แต่เหมาะกับระบบห่วงโช่อุปทานแบบ ปิด อย่างเช่น กลุ่ม Marks & Spencer ที่ขายสินค้าเฉพาะแบรนด์ของตนเองเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้คนส่วนมากคาดหวังว่าการนำ RFID tags มาใช้จะเกิดได้อย่างรวดเร็ว เพราะเกิด ‘Network Effect’ จากการที่ Wal-Mart และ Tesco เป็นบริษัทที่จำหน่ายสินค้าหลายประเภท ทั้งชิ้นส่วนรถยนต์ เสื้อผ้า ของชำ ยา และสินค้าเพื่อความบันเทิง ทำให้การใช้เทคโนโลยี RFID สามารถกระจายเครือข่ายไปในอุตสา หกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อซัพพายเออร์จำนวนมากปรับตัวมาใช้เทคโนโลยี บรรดาผู้ค้าปลีกรายอื่นก็ได้รับ ประโยชน์จาก RFID ตามไปด้วย เป็นผลให้ราคาของ tags และ readers ถูกลงเป็นตัวกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ กระโดดเข้าใช้เทคโนโลยี RFID นี้เพิ่มขึ้นในอนาคต


ธุรกิจโรงพยาบาล (Health Care)
รับโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ มีการนำเอาระบบ RFID มาใช้ในด้านต่างๆ เช่น การบันทึกประวัติผู้ป่วย และการรักษา รวมถึงการจัดการยาและเวชภัณฑ์ โดยประโยชน์ที่ทางโรงพยาบาลจะได้รับจากการบันทึกประวัติผู้ป่วยด้วยระบบ RFID คือ เมื่อผู้ป่วยเข้ามาในโรงพยาบาล เครื่องอ่านข้อมูล จะทำการอ่านข้อมูลจาก Tag ของผู้ป่วยที่เข้ามา เจ้าหน้าที่ก็จะทราบประวัติ และรายละเอียดการักษาพยาบาลของ ผู้ป่วยรายนั้น ๆ ได้ทันที ทำให้สามารถให้บริการกับผู้ป่วยรายนั้นได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการค้นประวัติ อีกทั้งยังสามารถติดตามดูแลผู้ ป่วยได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ ตามวันและเวลาที่นัดไว้ ทางโรงพยาบาลก็สามารถทราบได้จากระ บบแจ้งเตือน และเจ้าหน้าที่ก็จะทำการติดต่อไปยังผู้ป่วยเพื่อเตือนให้มาตามนัด หรืออาจติดตามไปถึงบ้านในกรณีของผู้สูงอายุ สำหรับการจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ การติด Tag ที่ยาหรือเวชภัณฑ์ทำให้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับยาชนิดนั้น เช่นวันผลิต วันหมดอายุ หรือทราบจำนวนที่เหลือในคงคลัง เจ้าหน้าที่ไม่ต้องคอยจำหรือดูบันทึก ซึ่งบางครั้งก็เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ทำให้ระบบมีความถูกต้องแม่นยำขึ้น และสามารถบริหารระบบคงคลังได้ดีขึ้น จึงลดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้ สำหรับผู้ป่วยจะได้รับการความสะดวก รวดเร็วในการไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเชื่อ ถือได้ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีของผู้สูงอาย


ธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์(Animal Identification)
มีการนำเอา RFID มาใช้ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้เป็นระบบ ฟาร์ม ออโตเมชั่น ด้วย Tag ติดตัวสัตว์เลี้ยง ทำให้สามารถทราบเจ้าของ ตรวจสอบสายพันธุ์ การให้อาหาร และการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ได้


งานทะเบียนของรัฐ
ระบบทะเบียนประวัติโดยทั่วไป จะใช้การพิมพ์ลายนิ้วมือประกอบ การทำประวัติ แต่เนื่องจากครื่องพิมพ์ลายนิ้วมือยังไม่มีความแน่นอน 100 % เช่น เลนส์อ่านสกปรกหากมีการใช้งานจำนวน มาก และคนประมาณ 5-10 % จะมีปัญหากับลายนิ้วมือ เนื่องจากมีลายนิ้วมือที่ใกล้เคียง กัน ดังนั้นในหลายประเทศจึงได้มีแนว คิดนำเอา RFID มาใช้เก็บทะเบียนประวัติในรูปของการ์ด (e-Citizen) และทำระบบความปลอดภัยเชื่อมต่อ กับฐานข้อมูลคนเข้าเมืองร่วม กับการใช้ e-Passport แทนการพิมพ์ลายนิ้วมือ


ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Access)
ปัจจุบันการใช้บัตรที่มีแถบแม่ เหล็กในการเข้า-ออกสำนักงาน อาคาร มักเกิดปัญหาแถบแม่เหล็กเสีย เมื่อรูดไปนานๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยี RFID ที่นำมาประยุกต์ใช้กับระบบเข้า-ออก สำนักงาน โดยทำให้อยู่ในรูปของบัตร ที่เรียกว่า Proximity Card ที่สามารถทำงานได้เพียงแค่แตะ หรือแสดงผ่านหน้าเครื่องอ่านเท่า นั้น หมดปัญหาแถบแม่เหล็กสีย ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ หรือสามารถใช้ในการบันทึกเวลา เข้า - ออกของพนักงานได้อีกทางหนึ่งด้วย


เทคโนโลยี RFID กับประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้นได้เริ่มมี บริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้ ตั้งแต่การออกแบบไมโครชิป ผลิตการ์ด การออกแบบเครื่องอ่าน (Reader) จนถึงการทำระบบ (System Integration) แต่หลายบริษัทยังขาดประสบการณ์การเป็นห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญ ด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ชั้น สูง ตลอดจนเงินทุนสนับสนุนการพัฒนา และถึงแม้จะมีข้อสรุปจากการร่วม เสวนาของภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีการจัดตั้งเป็นคลัสเตอร์สำหรับ RFID ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ ที่เกี่ยวข้องด้วยกัน เพื่อหาจุดเริ่มต้นในการพัฒนา และกำหนดมาตรฐาน RFID ของประเทศไทยเอง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความตื่น ตัวและการสนับสนุนจากภาครัฐ ของประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ประเทศไทยยังตามหลังอยู่อีกหลาย ช่วงตัว ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ค วามสนใจ โดยเฉพาะภาครรัฐต้องให้การสนับ สนุนอย่างจริงจัง และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวทัน กับเทคโนโลยี RFID ที่กำลังมีบทบาทสำคัญกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทศวรรษนี้


เทคโนโลยี RFID กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ทุกสิ่งย่อมมีสองด้านเสมอ และเทคโนโลยี RFID ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีคุณประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียกับ ประชาชน หรือผู้บริโภคได้ ด้วยคุณสมบัติอันอัจฉริยะของเทคโนโลยี เช่น ประวัติการซื้อสินค้า หรือข้อมูลประจำตัวของเราอาจถูก บันทึกไว้ตอนซื้อสินค้าใน ร้านค้า และข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ โดยเจ้าของร้านค้า เพื่อทำโฆษณาขายสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมาของเราต่อไป นั่นหมายถึงเราจะถูกรุกรานจากโฆษณา เหล่านั้นอยู่เสมอ หรือในกรณีที่เรามี tag อยู่กับตัว ไม่ว่าจะติดอยู่กับเสื้อผ้า รองเท้า หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราอยู่ในรัศมีสัญญาณของเครื่องอ่าน (Readers) ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราจะถูกเปิด เผย ทั้งหมดนี้ หมายถึงสิทธิส่วนบุคคลของเราได้ถูกละเมิด โดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว ซึ่งในหลายประเทศให้ความสำคัญ และหาทางป้องกันกับเรื่องนี้ โดยมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิดังกล่าว แต่สำหรับประเทศไทย ประชาชนยังให้ความสำคัญต่อข้อมูล ส่วนบุคคลค่อนข้างน้อย ดังนั้นทางผู้ที่เกี่ยวข้องจึง ควรมีการเผยแพร่ และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายคุ้ม ครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประ สิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับและป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และอนาคตได้


แหล่งที่มาข้อข้อมูล: คุณ กันต์ฤทัย อัศวรุ่งไพศาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แสดงความคิดเห็น